วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปบทที่ 3-5

สรุปบทที่ 3
การบริหารการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน
เมื่อมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศมีการนำมาปรับใช้ในทุกองค์กรทั้งทางด้านการวางแผน การตัดสินใจ และด้านการดำเนินงาน สารสนเทศนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นและมีแนวโน้มว่าจะมีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการเตรียมสารสนเทศเพื่อให้ผู้บริหารใช้วางแผนในการใช้ทรัพยากร ทั้งหมดขององค์กรควบคุม ติดตามผล และการตัดสินใจ การตัดสินใจ (Decision Making) คือการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ในด้านผู้บริหารการตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญเพราะการตัดสินใจมีความจำเป็นต่อการบริหารจัดการ
กระบวนการตัดสินใจ ข้อมูล(Data) การประมวลผล(Process) สารสนเทศ(Information) การตัดสินใจ(Decision) ปฏิบัติตาม(Action) จุดมุ่งหมาย(Objective)
ผู้บริหารงานสารสนเทศเฉพาะ คือ CEO (Chief Executive Officer) ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรที่จะมีภาวะผู้นำในการบริหารองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามวิศัยทัศน์ และเป้าหมายขององค์กร CIO (Chief Information Officer) ผู้บริหารสารสนเทศเป็นตำแหน่งสูงสุดรับผิดชอบด้านสารสนเทศขององค์กรโดยเฉพาะเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจที่ดูเลรับผิดชอบทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรและ เป็นผู้ให้คำแนะนำแก่ CEO เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ COO (Chief Operating Officer) ผู้บริหารด้านการปฏิบัติการมีหน้าที่บริหารจัดการกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันขององค์กร ติดตามและรายงานผลแก่ CEO และกรรมการบริหารขององค์กร CKO (Chief Knowledge Officer) ผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการบริหารและจัดการความรู้ในองค์กร
การบริหารงานในองค์กรแบ่งเป็น 3 ระดับ ระดับสูง ระดับกลาง และระดับต้นหรือระดับปฏิบัติการ
การตัดสินใจแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ
1. การตัดสินใจระดับสูง ไม่ใช่งานประจำ เป็นปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ผลกระทบการตัดสินใจเกิดขึ้นนาน
2. การตัดสินใจระดับกลาง เป็นงานประจำ ปัญหาที่เป็นแบบกึ่งโครงสร้าง ผลกระทบต่อการตัดสินใจปานกลาง
3. ระดับต้น หรือระดับปฏิบัติการ เกิดขึ้นกับงานประจำ เกิดขึ้นบ่อยเป็นปัญหามีโครงสร้าง ผลกระทบของการตัดสินใจเกิดขึ้นระยะสั้น
ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร
1. ระบบประมวนผลรายการ TPS (Transaction Processing Systems) เป็นขั้นตอนเบื่องต้นในการผลิตสารสนเทศซึ่งจัดการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดย TPS จะทำการประมวลผลข้อมูลกับงานเฉพาะส่วนขององค์กรมีการเก็บข้อมูลและทำการประมวลผลแยกกัน เป็นระบบที่เกิดขึ้นในระดับผู้ปฏิบัติการระบบสารสนเทศที่ได้จะสร้างเป็นรายงานตามความต้องการของผู้บริหาร
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS (Management Information Systems) เป็นระบบที่ผลิตสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการดำเนินงาน การจัดการและการตัดสินใจ MIS จะต้องมีการสร้างฐานข้อมูลเพราะต้องใช้ข้อมูลหลาย ๆ ฝ่ายรวมกัน จุดเน้นคือการนำสารสนเทศที่เตรียมจาก TPS มาทำเป็นรายงานสรุปหรือรายงานพิเศษให้กับผู้บริหารเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนและช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นสารสนเทศที่ใช้กับทุกระดับขององค์กรแต่ละระดับที่เหมาะสมที่สุด คือ ผู้บริหารระดับกลาง
3. ระบบสารสนเทศสำนักงาน OIS (Office Information Systems) เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการข่าวสาร การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ระบบประชุมทางไกลและ
4. ระบบสนับสนุนสำนักงาน ดังนั้นสำนักงานจึงเป็นศูนย์รวมของข้อมูง การจัดการข้อมูลในสำนักงานจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ในอดีตการจัดการข้อมูลจะกระทำโดยมือโดยการใช้การบันทึกเก็บไว้ในเอกสาร แต่เมือมีการนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในสำนักงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การจัดการข้อมูลก็เปลี่ยนเป็นบันทึกลงในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้การดำเนินงานในสำนักงานมีความถูกต้อง สะดวกและรวดเร็วขึ้น
5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS (Decision Support Systems) คือระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสำหรับช่วยให้ผู้บริหารพิจารณาว่าจะตัดสินใจในเรื่องนึ่ง ๆ อย่างไรดี DSS พัฒนามาจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยเพิ่มตัวแบบ (Model) ไว้ในระบบซึ่งได้พัฒนาขึ้นตามความต้องการของผู้บริหารในการตัดสินใจเฉพาะเรื่อง DSS เป็นการจัดเตรียมสารสนเทศเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงโดยสร้างเป็นตัวแบบหรือแบบจำลองที่แสดงผลลัพธ์ในทางเลือกต่าง ๆ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถใช้งานได้ง่าย ช่วยในการวิเคราะห์แนวโน้มเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
6. ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง ESS (Executive Support Systems) เป็นระบบที่ออกแบบสำหรับในผู้บริหารระดับสูงใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจเป็นระบบที่เข้าใจง่ายและใช้งานได้ง่าย สามารถจัดทำสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันและควรประกอบด้วยสารสนเทศภายในและภายนอกองค์กรด้วย


สรุปบทที่ 4
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลง ทางด้านสังคมการเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่

เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ จึงทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและการเมืองได้อย่างมาก
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ในแง่บวก
1. ผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในสังคม ช่วยให้มนุษย์ดำรงชีวิตได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. ช่วยพัฒนาการทำงานให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้องและประหยัดค่าใช้จ่าย
3. ช่วยทำให้เกิดระบบการทำงานร่วมกันได้ทุกที่ทุกเวลา
4. มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยเสริมสุขภาพ ช่วยทางด้านการแพทย์ให้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น
5. ช่วยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและการศึกษาด้วยตนเอง
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ในแง่ลบ
1. เกิดการคัดแย้งทางแนวความคิดระหว่างแนวความคิดเก่ากับแนวความคิดใหม่
2. มีการก่ออาชญากรรมทางด้านคอมพิวเตอร์
3. อัตราการจ้างงานลดลง
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาใช้ทางด้านการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมเอกสารให้รวดเร็วยังช่วยประชาชนได้รับรู้ข่าวสารทางการเมืองได้มากขึ้น
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร ข้อความ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการจัดกระทำและยังใช้ประโยชน์ไม่ได้
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วด้วยกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ความรู้ คือ การประยุกต์สารสนเทศโดยผ่านกระบวนการกลั่นกรอง กระบวนการคิดเชื่อมโยงกับความรู่อื่น ๆ จนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้
ปัญญา คือ ความรู้ที่อยู่ในตัวคนซึ่งได้จากการตกผลึกองค์ความรู้ต่าง ๆ ก่อให้เกิดประโยชน์สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาได้
ข้อมูลจะถูกเปลี่ยนเป็น สารสนเทศและพัฒนาไปสูความรู้ และในที่สุดคือการสร้างปัญญา ความรู้แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. Tacit Knowledge ความรู้ที่มีอยู่ในแต่ละบุคล
2. Explicit Knowledge คือ ความรู้ที่เปิดเผยแสดงออกมาในรูปแบบต่าง ๆ “องค์ความรู้”
การจัดการความรู้ KM (Knowledge Management) คือ กระบวนการใช้เทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อกระตุ่นให้พนักงานทุกระดับได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเป็นประสบการณ์ได้อย่างเปิดเผยต่อเนื่องและตรงไปตรงมา เพื่อการพัฒนาโดยรวมขององค์กร กระตุ่นให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กรนั้นไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมากมายแต่อย่างใดแต่ต้องเป็นเป้าหมายหลักและ วิสัยทัศน์ ของผู้บริหารรวมทั้งการทุ่มเทเวลากำลังคน เสริมด้วยความต่อเนื่องแลการวัดผลเป็นระยะระยะ
องค์ประกอบสำคัญในระบบ เศรษฐกิจ หรือหรือระบบสังคมบนพื้นฐานขององค์ความรู้ ที่มีการกล่าวถึง คือ ศักยภาพการแข่งขัน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์


กลยุทธ์ (Strategy) คือการหาแนวทางให้องค์กรสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่ กลยุทธ์ที่นิยมนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบันจะเน้นลูกค้าเป็นสำคัญ การพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการ การนำเสนอคุณค่าที่แตกต่างให้กับลูกค้า การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสม โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้
กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน การวิเคราะห์กลยุทธ์ Strategic entation การจัดทำกลยุธ์ Strategic Formulation การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ Strategic Implementation
การวิเคราะห์กลยุทธ์ เป็นการวิเคราะห์โดยองค์กรโดยองค์กรจะต้องศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจโดยทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร กระบวนการที่นิยมใช้ คือกระบวนการวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) ประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Analysis) คือ การวิเคราะห์ปัจจัยภายในขององค์กรโดยพิจารณาทั้ง จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness)
2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis) คือการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats)
การวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์กรในปัจจุบัน เพื่อนำไปกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร
การจัดการกลยุทธ์เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำกลยุทธ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานโดยองค์กรจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) และเป้าหมาย (Goal) แล้วจึงนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติโดยมุ่งเน้นความสำเร็จขององค์กร และตรวจสอบโดยใช้ Balanced Scorecard ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบผลการดำเนินงานขององค์กรเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันแต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อโต้แย้งและมีผลกระทบต่อองค์กร การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วผู้บริหารจะต้องมีการปรับปรุงเทคโนโลยีให้ทันสมัยเพื่อทันกับการเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี


สรุปบทที่ 5
ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของวามคิดหรือการกระทำ รวมถึงสิ่งประดิฐก็ตามมาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา แบ่งเป็น นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร นวัตกรรมการเรียนการสอน นวัตกรรมสื่อการสอน นวัตกรรมการประเมินผล นวัตกรรมการบริหารจัดการ
ขอบข่ายของนวัตกรรมการศึกษา มีขอบข่ายที่เกี่ยวข้องหลากหลายไม่ว่าจะเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอน เทคนิควิธีการสอน การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการออกแบบหลักสูตรให้มีความ บูรนาการ ให้สอคล้องกับการวัดผลแบบใหม่
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา ที่เปลี่ยนแปลงไปอันมีผลทำให้เกิดวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญ 4 ประการ ความแตกต่างระหว่างบุคล ความพร้อม การใช้เวลาเพื่อการศึกษา ประสิทธิภาพในการเรียน องค์ประกอบของการจัดการวัตกรรม บุคลากร โครงสร้างองค์กร กลยุทธ์ กระบวนการ เทคโนโลยี
ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างวัตกรรมทางการศึกษา มี 3 ระดับ ความเป็นเลิศของบุคคล (Individual excellence) ความเป็นเลิศของทีมงาน (Teamwork excellence) ความเป็นเลิศขององค์กร (Organization excellence)
หลักการของนวัตกรรมการศึกษา มี 5 ประการ คือนวัตกรรมเป็นเรื่องความคิด นวัตกรรมเป็นกุนแจสำคัญเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ประสิทธิภาพของนวัตกรรมสามารถเพิ่มราคาได้ ผู้บริหารสูงสุดต้องมีความรับผิดชอบต่อวัตกรรม ต้องมีการแพร่กระจายสู่บุคลอื่น
การสร้างนวัตกรรมใหม่ในองค์กร เป็นความพยายามพึงพาอาศัยทักษะ ทางด้านกล่องความคิด (Mindset) ทุนทางสติปัญญา (Intellectual capital) การบริหารนวัตกรรม (Innovation management)






สรุปบทที่ 6
การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา

ผู้บริหารสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องมีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซด์ (Web-Based Instruction : WB) เป็นนวัตกรรมใหม่ที่นำเข้ามาใช้ได้เป็นอย่างดี
บทเรียนออนไลน์ e-Learning เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในลักษณะหรือรูปแบบที่มีการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านซื่ออิเล็กทรอนิกส์
โมบายเลิร์นนิ่งเป็นการพัฒนาอีกขั้นของ e-Learning คือเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย m-learning คือ การศึกษาทางไกลผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบไร้สาย
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต มีการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในชื่อว่า สวนดุสิตอินเทอร์เน็ตบรอดคาสติ้ง (Suan Dusit Internet Broadcasting: SDIB) ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย บริการเผยแพราความรู้และบริการวิชาการสู่สังคมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ สืบค้นสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ประโยชน์ในการสอน การทำผลงานวิจัยวิชาการ และการวิจัยของคณาจารย์ และเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น