วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร

- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
- คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องเทคโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม การเมือง เทคโนโลยี
สมัยใหม่
- สามารถนำเทคนิคกระบวนการไปประยุกต์ใช้ในการทำงานในองค์กรได้- มีความรู้พื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์และสามารถนำมาใช้ในการทำงานด้านการเรียนการสอน เพื่อให้ทันสมัย สร้างโอกาส และความเท่าเทียมกันทางการศึกษาได้
- การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษาในการจัดการเรียนการสอน
- รู้กระบวนการในการสืบค้นข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล ออนไลน์สืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่น ๆ
มากขึ้น
- มีทัศนคติที่ดีต่อการใช้คอมพิวเตอร์
- รู้วิธีและสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่าง ๆ มากขึ้น

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทคัดย่อ

สภาพและปัญหาการนำสารสนเทศไปใช้ในงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการนำสารสนเทศไปใช้ในงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2 ใน 5 ด้าน คือ ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการจัดกิจกรรมแนะแนว ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านการวิจัยในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูในสถานศึกษาที่เปิดสอนเฉพาะช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2 ปีการศึกษา 2547 จำนวน 254 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพการนำสารสนเทศไปใช้ในงานวิชาการโดยรวมและรายด้านทุก ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เม่อเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้จำแนกตามช่วงชั้นการสอน ทั้งโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อจำแนกตามขนาดสถานศึกษา ทั้งโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) คือ สถานศึกษาขนาดใหญ่มีการนำสารสนเทศไปใช้ในงานวิชาการมากกว่าขนาดกลางและขนาดเล็ก และสถานศึกษาขนาดกลางมีสภาพการนำสารสนเทศไปใช้ในงานวิชาการมากกว่าขนาดเล็ก ยกเว้นสถานศึกษาขนาดกลางและขนาดใหญ่มีการนำสารสนเทศไปใช้ในงานวิชาการแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ2.ปัญหาการนำสารสนเทศไปใช้ในงานวิชาการทั้งโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างโดยจำแนกตามช่วงชั้นการสอน ทั้งโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อจำแนกตามขนาดสถานศึกษา ทั้งโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) โดยสถานศึกษาขนาดเล็ก มีปัญหามากกว่าขนาดกลางและขนาดใหญ่ และสถานศึกษาขนาดกลาง มีปัญหามากกว่าขนาดใหญ่

บรรณานุกรม

ทนงศักดิ์ ชาญสมิง .(2548).สภาพและปัญหาการนำสารสนเทศไปใช้ในงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. มหาวิทยาลัยบูรพา

สรุปบทที่ 3-5

สรุปบทที่ 3
การบริหารการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน
เมื่อมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศมีการนำมาปรับใช้ในทุกองค์กรทั้งทางด้านการวางแผน การตัดสินใจ และด้านการดำเนินงาน สารสนเทศนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นและมีแนวโน้มว่าจะมีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการเตรียมสารสนเทศเพื่อให้ผู้บริหารใช้วางแผนในการใช้ทรัพยากร ทั้งหมดขององค์กรควบคุม ติดตามผล และการตัดสินใจ การตัดสินใจ (Decision Making) คือการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ในด้านผู้บริหารการตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญเพราะการตัดสินใจมีความจำเป็นต่อการบริหารจัดการ
กระบวนการตัดสินใจ ข้อมูล(Data) การประมวลผล(Process) สารสนเทศ(Information) การตัดสินใจ(Decision) ปฏิบัติตาม(Action) จุดมุ่งหมาย(Objective)
ผู้บริหารงานสารสนเทศเฉพาะ คือ CEO (Chief Executive Officer) ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรที่จะมีภาวะผู้นำในการบริหารองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามวิศัยทัศน์ และเป้าหมายขององค์กร CIO (Chief Information Officer) ผู้บริหารสารสนเทศเป็นตำแหน่งสูงสุดรับผิดชอบด้านสารสนเทศขององค์กรโดยเฉพาะเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจที่ดูเลรับผิดชอบทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรและ เป็นผู้ให้คำแนะนำแก่ CEO เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ COO (Chief Operating Officer) ผู้บริหารด้านการปฏิบัติการมีหน้าที่บริหารจัดการกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันขององค์กร ติดตามและรายงานผลแก่ CEO และกรรมการบริหารขององค์กร CKO (Chief Knowledge Officer) ผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการบริหารและจัดการความรู้ในองค์กร
การบริหารงานในองค์กรแบ่งเป็น 3 ระดับ ระดับสูง ระดับกลาง และระดับต้นหรือระดับปฏิบัติการ
การตัดสินใจแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ
1. การตัดสินใจระดับสูง ไม่ใช่งานประจำ เป็นปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ผลกระทบการตัดสินใจเกิดขึ้นนาน
2. การตัดสินใจระดับกลาง เป็นงานประจำ ปัญหาที่เป็นแบบกึ่งโครงสร้าง ผลกระทบต่อการตัดสินใจปานกลาง
3. ระดับต้น หรือระดับปฏิบัติการ เกิดขึ้นกับงานประจำ เกิดขึ้นบ่อยเป็นปัญหามีโครงสร้าง ผลกระทบของการตัดสินใจเกิดขึ้นระยะสั้น
ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร
1. ระบบประมวนผลรายการ TPS (Transaction Processing Systems) เป็นขั้นตอนเบื่องต้นในการผลิตสารสนเทศซึ่งจัดการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดย TPS จะทำการประมวลผลข้อมูลกับงานเฉพาะส่วนขององค์กรมีการเก็บข้อมูลและทำการประมวลผลแยกกัน เป็นระบบที่เกิดขึ้นในระดับผู้ปฏิบัติการระบบสารสนเทศที่ได้จะสร้างเป็นรายงานตามความต้องการของผู้บริหาร
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS (Management Information Systems) เป็นระบบที่ผลิตสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการดำเนินงาน การจัดการและการตัดสินใจ MIS จะต้องมีการสร้างฐานข้อมูลเพราะต้องใช้ข้อมูลหลาย ๆ ฝ่ายรวมกัน จุดเน้นคือการนำสารสนเทศที่เตรียมจาก TPS มาทำเป็นรายงานสรุปหรือรายงานพิเศษให้กับผู้บริหารเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนและช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นสารสนเทศที่ใช้กับทุกระดับขององค์กรแต่ละระดับที่เหมาะสมที่สุด คือ ผู้บริหารระดับกลาง
3. ระบบสารสนเทศสำนักงาน OIS (Office Information Systems) เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการข่าวสาร การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ระบบประชุมทางไกลและ
4. ระบบสนับสนุนสำนักงาน ดังนั้นสำนักงานจึงเป็นศูนย์รวมของข้อมูง การจัดการข้อมูลในสำนักงานจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ในอดีตการจัดการข้อมูลจะกระทำโดยมือโดยการใช้การบันทึกเก็บไว้ในเอกสาร แต่เมือมีการนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในสำนักงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การจัดการข้อมูลก็เปลี่ยนเป็นบันทึกลงในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้การดำเนินงานในสำนักงานมีความถูกต้อง สะดวกและรวดเร็วขึ้น
5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS (Decision Support Systems) คือระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสำหรับช่วยให้ผู้บริหารพิจารณาว่าจะตัดสินใจในเรื่องนึ่ง ๆ อย่างไรดี DSS พัฒนามาจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยเพิ่มตัวแบบ (Model) ไว้ในระบบซึ่งได้พัฒนาขึ้นตามความต้องการของผู้บริหารในการตัดสินใจเฉพาะเรื่อง DSS เป็นการจัดเตรียมสารสนเทศเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงโดยสร้างเป็นตัวแบบหรือแบบจำลองที่แสดงผลลัพธ์ในทางเลือกต่าง ๆ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถใช้งานได้ง่าย ช่วยในการวิเคราะห์แนวโน้มเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
6. ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง ESS (Executive Support Systems) เป็นระบบที่ออกแบบสำหรับในผู้บริหารระดับสูงใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจเป็นระบบที่เข้าใจง่ายและใช้งานได้ง่าย สามารถจัดทำสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันและควรประกอบด้วยสารสนเทศภายในและภายนอกองค์กรด้วย


สรุปบทที่ 4
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลง ทางด้านสังคมการเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่

เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ จึงทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและการเมืองได้อย่างมาก
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ในแง่บวก
1. ผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในสังคม ช่วยให้มนุษย์ดำรงชีวิตได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. ช่วยพัฒนาการทำงานให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้องและประหยัดค่าใช้จ่าย
3. ช่วยทำให้เกิดระบบการทำงานร่วมกันได้ทุกที่ทุกเวลา
4. มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยเสริมสุขภาพ ช่วยทางด้านการแพทย์ให้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น
5. ช่วยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและการศึกษาด้วยตนเอง
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ในแง่ลบ
1. เกิดการคัดแย้งทางแนวความคิดระหว่างแนวความคิดเก่ากับแนวความคิดใหม่
2. มีการก่ออาชญากรรมทางด้านคอมพิวเตอร์
3. อัตราการจ้างงานลดลง
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาใช้ทางด้านการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมเอกสารให้รวดเร็วยังช่วยประชาชนได้รับรู้ข่าวสารทางการเมืองได้มากขึ้น
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร ข้อความ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการจัดกระทำและยังใช้ประโยชน์ไม่ได้
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วด้วยกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ความรู้ คือ การประยุกต์สารสนเทศโดยผ่านกระบวนการกลั่นกรอง กระบวนการคิดเชื่อมโยงกับความรู่อื่น ๆ จนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้
ปัญญา คือ ความรู้ที่อยู่ในตัวคนซึ่งได้จากการตกผลึกองค์ความรู้ต่าง ๆ ก่อให้เกิดประโยชน์สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาได้
ข้อมูลจะถูกเปลี่ยนเป็น สารสนเทศและพัฒนาไปสูความรู้ และในที่สุดคือการสร้างปัญญา ความรู้แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. Tacit Knowledge ความรู้ที่มีอยู่ในแต่ละบุคล
2. Explicit Knowledge คือ ความรู้ที่เปิดเผยแสดงออกมาในรูปแบบต่าง ๆ “องค์ความรู้”
การจัดการความรู้ KM (Knowledge Management) คือ กระบวนการใช้เทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อกระตุ่นให้พนักงานทุกระดับได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเป็นประสบการณ์ได้อย่างเปิดเผยต่อเนื่องและตรงไปตรงมา เพื่อการพัฒนาโดยรวมขององค์กร กระตุ่นให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กรนั้นไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมากมายแต่อย่างใดแต่ต้องเป็นเป้าหมายหลักและ วิสัยทัศน์ ของผู้บริหารรวมทั้งการทุ่มเทเวลากำลังคน เสริมด้วยความต่อเนื่องแลการวัดผลเป็นระยะระยะ
องค์ประกอบสำคัญในระบบ เศรษฐกิจ หรือหรือระบบสังคมบนพื้นฐานขององค์ความรู้ ที่มีการกล่าวถึง คือ ศักยภาพการแข่งขัน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์


กลยุทธ์ (Strategy) คือการหาแนวทางให้องค์กรสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่ กลยุทธ์ที่นิยมนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบันจะเน้นลูกค้าเป็นสำคัญ การพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการ การนำเสนอคุณค่าที่แตกต่างให้กับลูกค้า การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสม โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้
กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน การวิเคราะห์กลยุทธ์ Strategic entation การจัดทำกลยุธ์ Strategic Formulation การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ Strategic Implementation
การวิเคราะห์กลยุทธ์ เป็นการวิเคราะห์โดยองค์กรโดยองค์กรจะต้องศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจโดยทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร กระบวนการที่นิยมใช้ คือกระบวนการวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) ประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Analysis) คือ การวิเคราะห์ปัจจัยภายในขององค์กรโดยพิจารณาทั้ง จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness)
2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis) คือการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats)
การวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์กรในปัจจุบัน เพื่อนำไปกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร
การจัดการกลยุทธ์เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำกลยุทธ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานโดยองค์กรจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) และเป้าหมาย (Goal) แล้วจึงนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติโดยมุ่งเน้นความสำเร็จขององค์กร และตรวจสอบโดยใช้ Balanced Scorecard ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบผลการดำเนินงานขององค์กรเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันแต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อโต้แย้งและมีผลกระทบต่อองค์กร การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วผู้บริหารจะต้องมีการปรับปรุงเทคโนโลยีให้ทันสมัยเพื่อทันกับการเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี


สรุปบทที่ 5
ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของวามคิดหรือการกระทำ รวมถึงสิ่งประดิฐก็ตามมาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา แบ่งเป็น นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร นวัตกรรมการเรียนการสอน นวัตกรรมสื่อการสอน นวัตกรรมการประเมินผล นวัตกรรมการบริหารจัดการ
ขอบข่ายของนวัตกรรมการศึกษา มีขอบข่ายที่เกี่ยวข้องหลากหลายไม่ว่าจะเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอน เทคนิควิธีการสอน การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการออกแบบหลักสูตรให้มีความ บูรนาการ ให้สอคล้องกับการวัดผลแบบใหม่
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา ที่เปลี่ยนแปลงไปอันมีผลทำให้เกิดวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญ 4 ประการ ความแตกต่างระหว่างบุคล ความพร้อม การใช้เวลาเพื่อการศึกษา ประสิทธิภาพในการเรียน องค์ประกอบของการจัดการวัตกรรม บุคลากร โครงสร้างองค์กร กลยุทธ์ กระบวนการ เทคโนโลยี
ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างวัตกรรมทางการศึกษา มี 3 ระดับ ความเป็นเลิศของบุคคล (Individual excellence) ความเป็นเลิศของทีมงาน (Teamwork excellence) ความเป็นเลิศขององค์กร (Organization excellence)
หลักการของนวัตกรรมการศึกษา มี 5 ประการ คือนวัตกรรมเป็นเรื่องความคิด นวัตกรรมเป็นกุนแจสำคัญเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ประสิทธิภาพของนวัตกรรมสามารถเพิ่มราคาได้ ผู้บริหารสูงสุดต้องมีความรับผิดชอบต่อวัตกรรม ต้องมีการแพร่กระจายสู่บุคลอื่น
การสร้างนวัตกรรมใหม่ในองค์กร เป็นความพยายามพึงพาอาศัยทักษะ ทางด้านกล่องความคิด (Mindset) ทุนทางสติปัญญา (Intellectual capital) การบริหารนวัตกรรม (Innovation management)






สรุปบทที่ 6
การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา

ผู้บริหารสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องมีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซด์ (Web-Based Instruction : WB) เป็นนวัตกรรมใหม่ที่นำเข้ามาใช้ได้เป็นอย่างดี
บทเรียนออนไลน์ e-Learning เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในลักษณะหรือรูปแบบที่มีการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านซื่ออิเล็กทรอนิกส์
โมบายเลิร์นนิ่งเป็นการพัฒนาอีกขั้นของ e-Learning คือเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย m-learning คือ การศึกษาทางไกลผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบไร้สาย
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต มีการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในชื่อว่า สวนดุสิตอินเทอร์เน็ตบรอดคาสติ้ง (Suan Dusit Internet Broadcasting: SDIB) ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย บริการเผยแพราความรู้และบริการวิชาการสู่สังคมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ สืบค้นสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ประโยชน์ในการสอน การทำผลงานวิจัยวิชาการ และการวิจัยของคณาจารย์ และเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1

ใบงานที่ 1



3.1 ความรู้ที่นักศึกษา ได้รับจากการเรียนในครั้งนี้

- ได้รู้ถึงความหมายของข้อมูลสารสนเทศ ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ


- รู้และเข้าใจถึงคุณสมบัติที่ดีของสารสนเทศ

- รู้วิธีการจัดโครงสร้างของสารสนเทศ

- รู้ถึงการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ

- รู้ถึงบทบาทและประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา

- รู้ถึงวิธีการเรียนการสอนผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนส์

- รู้วิธีการเรียนแบบออนไลน์ ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ

- รู้จักการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน

- รู้ถึงบทบาทที่ผู้บริหารการศึกษาต่อการพัฒนาการศึกษา

- เข้าถึงแผนแม่บท และสื่อการศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ.2550-2554

- รู้ถึงนโยบายสารสนเทศ

- รู้วิธีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียน เช่น รู้การสมัค การส่ง รับ mail และสำเนา พร้อมวิธีการ

แนบฟาร์ยภาพ




3.2 ประโยชน์ที่มีของระบบเครือค่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ต่อกระบวนการจัดการศึกษา

1. มีความทันสมัย

2. ทำให้การสืบค้นข้อมูลและแลกเปลี่ยนสาระความรู้ได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง

3. เป็นต้นแบบการพัฒนาสื่อในการเรียนการสอน และจัดการกับความคลาดแคนบุคลากรทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน

5. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วนตนเองได้ตลอดเวลา

6. เข้าถึงบริการทางการศึกษาได้เต็มศักยภาพ มีสมรรถนะตามมาตรฐานสากล

7. พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยี

8. ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

9. เป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา

10. สร้างโอกาสและความเท่าเทียมกันทางกาศึกษา



3.3 เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต เมื่อเทียบกับการติดตั้งโปรแกรมใช้งาน

บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคล

ข้อดีของการติดตั้งโปรแกรมประยุกต์บนเครื่องคอมพิวเตอร์

- สะดวกในการใช้งาน

- ทำงานได้เร็วกว่า

- ปัญหาการติดไวรัสได้น้อยกว่า

ข้อเสียของการติดตั้งโปรแกรมประยุกต์บนเครื่องคอมพิวเตอร์

- ราคาแพง

- การอัพเดสโปรแกรมต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม

ข้อดีของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต

- ทดลองใช้ได้ฟรีสามารถDownload มาใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

- ลดปัญหาการพัฒนาระบบ

- ทันสมัยเนื่องจากโปรแกรมส่วนมากมีการอัพเดสอยู่ตลอด

- การลงทุนต่ำไม่เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง

ข้อเสียของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต

- ช้าในการใช้งานเพราะต้องDownloadโปรแกรม

- มีความเสียงกับไวรัส

- มักกำหนดระยะเวลาการใช้

ภาพประทับใจ





ภาพนี้เป็นภาพที่น่าประทับใจภาพหนึ่ง ดูแล้วให้ความรู้สึกถึงเช้าวันใหม่ที่
มาถึง มันให้ความรู้สึกได้ถึงสิ่งทีรออยู่เบื้องหน้าในเช้าวันนั้นรอให้เราออกไป
ค้นหา พบเจอสิ่งใหม่ ๆ ที่ดูกว้างขวางและใหญ่โต มันทำให้เรารู้สึกอยาก
ก้าวออกจากที่มืดสู่แสงสว่าง ดูภาพนี้แล้วช่วยให้เสริมกำลังใจในการก้าวไป
พบสิ่งใหม่ในเช้าวันใหม่ อย่างมีกำลัง ...................................................










ภาพนี้เป็นภาพที่ประทับใจอีกภาพหนึ่ง ภาพนี้ดูยังไง
ก็ยังรู้สึกว่ารูปภาพลูกสุนัขเป็นภาพที่ น่ารักน่าเอ็นดู
เป็นความชอบเฉพาะตัวเนื่องจากเป็นคนชอบเลี้ยงสุนัข
พันธ์เล็ก (ชิสุ) น่าตาคล้ายกับ (หมูจุ่ม) สุนัขที่
เลี้ยงไว้มันขี้อ้อน ชอบเล่น ได้เลี้ยงก็รู้สึกประทับ
ใจมากทั้งนิสัยและน่าตา จึงทำให้ภาพ
.............นี้เป็นภาพที่น่าประทับใจภาพหนึ่ง................

















แนะนำตัวเอง

แนะนำตัว


ประวัติ



ชื่อ น.ส.ชนัฐนภา อินต๊ะเหล็ก ชื่อเล่น กิ่ง



เกิดวันที่ 14 มิถุนายน 2524 อายุ 28 ปี



ทีอยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้าน 178 ม.13 ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูน 51000



จบการศึกษาจาก ม.ราชภัฏลำปาง



คณะวิทยาการจัดการ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ



สถานที่ทำงานที่ บ.กรีจักรแอนท์เอสโซซิเอทส์ จำกัด



ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายบัญชี / การเงิน



ปัจจุบันอยู่ที่ ซอย 6 วัดบ่อฝ้าย ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ 77110




เบอร์โทรติดต่อ 086-753-6934